สำหรับประเทศไทยมีการกำหนดแนวนโยบายการจัดการโควิด-19 ตามมาตรการ “การเว้นระยะห่างทางสังคม” ซึ่งถือเป็นความพยายามในการลดอัตราการแพร่ระบาดของไวรัสจากคนสู่คนในสังคม โดยมีหลักการที่สำคัญคือการสร้างระยะห่างระหว่างตนเองกับคนอื่นๆ ในสังคม หรือยืน-นั่งห่างกัน อย่างน้อย 1-2 เมตร รวมถึงการลดการออกไปนอกบ้านโดยไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการใช้ขนส่งสาธารณะ การงดกิจกรรมทางสังคม การเรียนการสอนผ่านทางช่องทางออนไลน์ และการกักกัน หรือทำงานอยู่ที่บ้านให้มากที่สุด ตามนโยบาย “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” เป็นต้น
แนวคิดเรื่องกลไกการใช้อำนาจรัฐหรือกลไกรัฐ นับได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการสร้างภาวะการครองอำนาจนำให้เกิดข้ึนตามเป้าหมายของกลุ่ม/ชนชั้นผู้พยายามสร้างภาวะการณ์ครองอำนาจนำ ซ่ึงแนวคิดดังกล่าว เปรียบได้กับการทำหน้าเป็นสื่อกลาง เพื่อถ่ายทอดอุดมการณ์หรือระบบความคิด ความรู้ ความเช่ือ ค่านิยม ชุด ๆ หน่ึง ตามที่รัฐพยายาม สร้างภาวะการครองอำนาจนำ ตัวแสดงหลักอย่างรัฐบาลและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีส่วนสำคัญที่ทำให้กลไกแห่งรัฐ ดำเนินไปได้ กล่าวคือ กลไกรัฐทำหน้าที่ในการถ่ายทอดหรือส่งผ่านชุดความคิด จากด้านผู้ท่ีพยายามสร้างภาวะการครองอำนาจนำไปยังผู้คนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง ปัญญาชน นโยบายของพรรคการเมือง/รัฐบาล สื่อมวลชนทุกประเภท สถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา ซึ่งรัฐพยายามสร้างภาพให้ตนเองเป็นผู้ท่ีน่าเช่ือถือในภาวะการครองอำนาจนำ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญของกลไกอำนาจรัฐนั้น คือ การที่รัฐใช้อำนาจบังคับผ่านตัวบทกฎหมาย ระเบียบข้อตกลง เพื่อบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตาม โดยที่ประชาชนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
เมื่อพิจารณาแนวทางปฏิบัติกลับพบว่า การใช้อำนาจนำเป็นการสร้างระยะห่างทางสังคม และระยะห่างทางสังคมดังกล่าวไม่ได้หมายถึงเพียงแค่ “ระยะห่างทางร่างกาย” หากแต่ยังหมายถึง “การสร้างระยะห่างทางชนชั้นด้วย”ที่ว่าด้วยการกักตัวเองอยู่แต่ภายในบ้านนั้นกลับไม่ได้เอื้อต่อการกักกันโรคสำหรับทุกกลุ่มคน และไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถแบกรับกับสถานการณ์ที่ได้อย่างเทียมกัน โดยเฉพาะกับกรณีผู้ที่มีฐานะยากจน และและกลุ่มคนที่จำเป็นต้องหาเช้ากินค่ำแล้วอย่างกลุ่มผู้ค้าในตลาดสดแล้วด้วย เพียงแค่เอาตัวรอดในหนึ่งวันก็อาจจะเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องดิ้นรนอย่างหนัก การออกไปหารายได้จากนอกบ้านเป็นรายวันคือหนทางเดียวในการใช้ชีวิตอยู่ต่อไปอย่างปลอดภัยต่อปากท้องของตนเองและครอบครัวมากกว่าความปลอดภัยตามความหมายที่กำหนดไว้ในนโยบายของรัฐบาล นอกจากนี้ การกำหนดนโยบายแบบเลือกปฏิบัติ หรือไม่ครอบคลุม ยังเป็นการ “ผลัก” ให้กลุ่มคนดังกล่าวเข้าสู่มุมมืดของ “การกลายเป็นกลุ่มผู้มีสถานะรอง” ที่ไม่ถูกนับรวมอยู่ในแนวนโยบายการจัดการโรคโควิด-19 ของรัฐไทยอีกด้วย
แนวคิดผู้ถูกทำให้อยู่ในสถานะรอง อันโตนิโอ กรัมชี่ ได้กล่าวถึงมโนทัศน์เรื่องชนชั้น และการจัดลำดับทางชนชั้น ของกลุ่มมาร์กซิสต์ดั้งเดิม ซึ่งเป็นการต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างชนชั้นนายทุนและชนชั้นกรรมาชีพ ชนชั้นนายทุนคือกลุ่มผู้ปกครอง/กลุ่มผู้ครองอำนาจนำ โดยยึดครองถือครองปัจจัยการผลิต ตามหลักเศรษฐกิจกำหนด ตำแหน่งแห่งที่ทางสังคม ซึ่งชนชั้นนายทุนได้แสวงหาประโยชน์ กดขี่ และขูดรีด มูลค่าส่วนเกินของชนชั้นกรรมาชีพ และชนชั้นกรรมาชีพต้องต่อสู้ด้วยการปฏิวัติทางชนชั้น เพื่อปลดปล่อย และปลดแอกสังคม เพื่อก้าวสู่สังคมคอมมิวนิสต์ที่ไม่มีชนชั้นในท้ายที่สุด จะเห็นได้ว่าในช่วงวิกฤตกาลการแพร่เชื้อของไวรัวโควิท-19 รัฐพยายามกดขี่ และขูดรีด จากประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดซื้อวัคซีนที่ไม่สมเหตุสมผล และวัคซีนก็ไม่ได้มีประสิทธิภาพ แต่ถ้าหากประชาชนต้องการวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ ประชาชนต้องลงทุนซื้อวัคซีนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนเหมือนซวยซ้ำซ้อน กรัมซี่มองว่ามันเป็นการขูดรีดประชาชน จากชนชั้นปกครองและนายทุนเพื่อแสวงหาประโยชนบนวิกฤตนี้
กรัมชี่ได้ตีความแนวคิดเรื่อง “ชนชั้น” แบบมาร์กซิสต์ดั้งเดิมในรูปแบบใหม่ โดยกรัมชี่จะใช้วิธีคิดแบบเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนด มีลักษณะการมองสังคมที่หยุดนิ่งเกินไป และทัศนะที่เชื่อว่าเศรษฐกิจเป็นแรงผลัก/ตัวแปรเดียว น่าจะเป็นการตีความที่ไม่ถูกต้องนัก เขาจึงได้พัฒนาต่อยอดจากการกดขี่ และขูดรีดทางเศรษฐกิจออกไป โดยให้ความสำคัญกับการครอบงำทางชนชั้นในมิติของอุดมการณ์ และจิตสำนึก ซึ่งเป็นกระบวนการในสร้างความยินยอมพร้อมใจโดยธรรมชาติให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน กรัมชี ได้อธิบายถึงอำนาจครอบงำของอุดมการณ์ของชนช้ันนำทางสังคมท่ีมีต่อส่วนต่างๆ ของสังคม โดยเขาใช้แนวคิดน้ีอธิบายว่า เหตุใดชนชั้นนายทุนจึงสามารถมี อำนาจในสังคมได้ เพราะอำนาจที่แท้จริงของระบบทุนนิยมนั้น มิใช่อยู่ที่การใช้ความรุนแรง หรือการบังคับท่ีกลไกของรัฐเป็นฝ่ายกระทำหากอยู่ที่การยอมรับของฝ่ายที่ถูกปกครองในแนวคิดหรือ จิตสำนึกในการอธิบายความเป็นไปของสังคมเป็นปรัชญาของมวลชนผู้ซึ่งยอมรับระบบศีลธรรม ขนบธรรมเนียมและพฤติกรรมในสังคม ประเด็นที่กรัมชีต้องการศึกษาทำความเข้า ใจก็คือ ชนชั้น
สำหรับกรัมชี่ จะถือครองอำนาจนำ ที่ต้องยึดครอง/บังคับ และกำกับควบคุม ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ เหนือกลุ่มผู้ถูกปกครอง หรือผู้ถูกทำให้อยู่ในสถานะรองให้ได้ ดังนั้น การกลายเป็นผู้ถูกทำให้อยู่ในสถานะรองจึงมิได้เกิดขึ้นอย่างบังเอิญ หากแต่ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ภายใต้การสร้างระบบความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับการสถาปนาอำนาจนำ ของกลุ่มผู้ปกครอง โดยมีกลไกของรัฐอยู่เบื้องหลัง และทำหน้าที่ที่สำคัญใน 2 ลักษณะ คือ
1.กลไกการใช้อำนาจบังคับของรัฐ ผ่านแนวคิดที่กรัมชี่เรียกว่า การทำสงครามขับเคลื่อน คือ การใช้อำนาจรัฐที่มีลักษณะความสัมพันธ์เชิงบังคับ ซึ่งรัฐหรือกลุ่มผู้ดำเนินการสร้างภาวะการครองอำนาจนำจะใช้อำนาจใน 2 ระดับ คือ 1) ระดับของการบังคับโดยตรง หรือ การสั่งการโดยรัฐ และ 2) การใช้อำนาจในการบังคับใช้กฎหมาย และมีอำนาจบังคับรองรับอย่างถูกต้องตามกฎหมายผ่านกลไกการใช้อำนาจบังคับในรูปแบบต่างๆของรัฐ ถึงแม้ว่ากลไกของรัฐจะให้ความรู้สึกเอนเอียงไปในมิติของการกลไกการใช้อำนาจบังคับของรัฐในพื้นที่ของ “สังคมการเมือง” ผ่านการใช้อำนาจทางกฎหมาย แต่การใช้อำนาจบังคับนั้นอาจเป็นไปอย่างชาญฉลาด และแยบยล โดยผสมผสานระหว่างการจูงใจ และการสร้างความยินยอม ผ่านการใช้อำนาจบริหารของรัฐด้วยเช่นกัน
2.กลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ ผ่านการทำสงครามช่วงชิงพื้นที่ทางความคิด ซึ่งเป็นการใช้อำนาจอุดมการณ์ของรัฐ เพื่อโน้มน้าว และชี้นำความคิด และความเชื่อ โดยวิธีการสร้างความรู้/ความจริงหลักให้เกิดขึ้น และให้ได้รับความนิยมจากประชาชน โดยที่ประชาชนไม่รู้สึกว่าเป็นการบังคับ ซึ่งกลไกนี้จะขับเคลื่อนผ่านการให้ข่าว การสร้างข่าว และการนำเสนอนโยบายของพรรคการเมือง ซึ่งรวมถึงการปลุกปั่น และการโฆษณาชวนเชื่อ เป็นต้น
ผลของการใช้กลไกของรัฐทั้งสองส่วนดังกล่าวนั้น ด้านหนึ่ง นำมาซึ่งผลประโยชน์ และอำนาจนำของกลุ่มผู้ปกครองในการครอบงำชนชั้นผู้ถูกปกครองของตน ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง กลไกดังกล่าวได้สร้าง “ภาวะการถูกทำให้อยู่ในสถานะรอง” ให้กับกลุ่มผู้ถูกปกครอง ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “การปลูกฝังความรู้ที่ปลอมแปลง” ด้วยการกำหนดตำแหน่งแห่งที่ให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง โดยที่พวกเขาเหล่านั้นไม่สามารถวิพากษ์ประวัติศาสตร์เชิงอุดมการณ์ที่ครอบงำตัวเขาเอง รวมถึงการถูกอธิบายและแสดงเหตุผลซึ่งเป็นผลมาจากการตั้งต้นทางประวัติศาสตร์ที่ถูกทำให้อยู่ในสถานะรองความมีอยู่และสถานะทางสังคมของกลุ่มคนเหล่านั้น โดยให้มีลักษณะเป็นกลุ่มคนที่ด้อยกว่าหรือต่ำกว่า และได้รับพิจารณาให้ผนวกรวม หรือคัดออกให้อยู่ในระดับทางสังคมเดียวกันจากกลุ่มชนชั้นนำเพื่อรักษาสถานะของความมีอำนาจนำของกลุ่มผู้ชนชั้นนำเอาไว้
ในกรณีของรัฐไทยกับโรคโควิด-19 นั้น พบว่า รัฐไทยได้มีความพยายามในการจัดการปัญหาดังกล่าวอย่างเข้มข้นในหลากหลายรูปแบบ ทั้งในส่วนของกลไกการใช้อำนาจบังคับของรัฐ อาทิเช่น การประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริการราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และการประกาศเคอร์ฟิว หรือห้ามออกนอกเคหสถานตั้งแต่เวลา 22.00-04.00 น. การกำหนดนโยบายงดเดินทางข้ามจังหวัด หากไม่มีเหตุจำเป็น ตลอดจนการสั่งการตามมาตรการควบคุมโรคระบาดครอบคลุมในทุกภาคส่วนของสังคม นอกจากนี้ รัฐไทยยังใช้กลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ ที่ว่าด้วยการผลิตสร้างชุดความรู้/ความจริงที่เรียกว่า “การเว้นระยะห่างทางสังคม” ที่โน้มน้าวให้ผู้คนใช้ชีวิตโดยรักษาระยะห่างระหว่างกันมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งการเก็บตัวอยู่ที่บ้าน และไม่ออกเดินทางไปไหนถ้าไม่จำเป็น เพื่อลดการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังระบาด
ภายใต้กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีเรื่องผู้ถูกทำให้อยู่ในสถานะรองของกรัมซี่แล้ว พบว่า การสร้างระยะห่างทางสังคมดังกล่าวไม่ได้หมายความครอบคลุมเพียงแค่ “ระยะห่างทางร่างกาย” หากแต่ยังเป็น “การสร้างระยะห่างทางชนชั้น” ที่ไม่ได้เอื้อต่อการกักกันโรคสำหรับกลุ่มคนจน นอกจากนี้ยังเป็นการ “ผลัก” ให้กลุ่มคนดังกล่าวกลายเป็นกลุ่มผู้มีสถานะรองจากแนวนโยบายการจัดการโรคโควิด-19 ของรัฐไทยในอีกนัยยะหนึ่ง จะเห็นได้ว่า การแพร่เชื้อของไวรัสโควิท-19 ในไทยนั้น ประชาชนที่ได้รับเชื้อในปัจจุบันจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ชนชั้นกลางได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ส่วนชนชั้นล่าง บางคนถึงกับต้องนอนรอที่บ้านกว่าจะได้รักษา บางคนรอจนเสียชีวิตก็มี เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการแบ่งมีการรักษาโดยแบ่ง ชนชั้น ทำให้ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจนเตียงไม่พอในการรักษา เป็นต้น