วอล์แตร์มองการอยู่บ้าน เคอร์ฟิวส์ ของประชาชน เพื่อป้องกันโควิท แต่ไม่มีมาตรการเยียวยาที่เด่นชัดของรัฐบาลต่อผู้ได้รับผลกระทบ ให้อธิบายและวิพากษ์ตามแนวคิดของวอล์แตร์
วอลแตร์”
ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ร้อนแรงทั้งในประเทศเราและต่างประเทศ เหตุการณ์ทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมประท้วงขับไล่นายกของหลายๆ กลุ่ม หรือวิกฤติของการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด19” ก็ตาม ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์มากมายในโลกอินเตอร์เน็ต เราก็เป็นคนหนึ่งที่รู้สึกเดือดร้อนกับสถานการณทางการเมือง แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้มากไปกว่าติดตามสถานการณ์ในประเทศ
“หากต้องการรู้ว่าใครปกครองคุณ ให้ดูว่าใครที่ไม่อนุญาตให้คุณวิพากษ์วิจารณ์”
ซึ่งข้อความนี้เป็นคำกล่าวของ”วอลแตร์” นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสผู้มีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ร่วมกับนักปรัชญาชื่อดังอีกหลายท่าน สามารถกล่าวได้ว่าวอลแตร์นั้นเป็นบุคคลสำคัญที่นำฝรั่งเศสไปสู่การปฏิวัติจะเห็นได้ว่า แนวคิดของวอลแตร์คือการสนับสนุนเสรีภาพ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันการปกครอง ระบอบอำนาจ จนทำให้เกิดการชุมนุมและการปฏิวัติในเวลาต่อมาซึ่งเมื่อมองกลับมาที่ การเมืองไทยในปัจจุบันอาจจะไม่ตรงกับแนวทางของวอลแตร์นัก เนื่องจากเรายังถูกจำกัดเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์อยู่หลายเรื่อง ซึ่งก็เป็นไปตามบริบทของสังคมไทยที่อาจจะแตกต่างออกไปแต่สุดท้ายแล้ว เราเชื่อว่าสิทธิในการแสดงความคิดเห็นยังคงเป็นของทุกคนสิ่งสำคัญที่คนในสังคมโลกควรจะมีไว้แล้วเตือนตัวเองเสมอ คือ โลกใบนี้ไม่เที่ยง และผู้อาศัยอยู่ในโลกใบนี้ต้องท่องหนึ่งคำจำ ให้ขึ้นใจไว้เสมอ คือคำ ว่าการปรับตัว หากเรายึดมั่นในคำ นี้จะสามารถยืนหยัดไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ใดในที่ทุกสถานที่ ในทุกสถานการณ์ทุกเมื่อ เราจะดำรงอยู่อย่างมีสติ พร้อมรับในทุกๆ มิติที่เกิดเหตุการณ์อย่างเช่นทุกวันนี้
การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลก็ถูกมองว่าเป็นการกระทำแบบมือไม่พายเอาเท้าราน้ำเช่นกัน และมันก็ไม่ยากที่จะเข้าใจว่าทำไมผู้คนถึงคิดแบบนั้น หลายครั้งที่การวิจารณ์รัฐบาลนั้นไม่ได้อยู่ในรูปแบบติเพื่อก่อ และมันไม่ง่ายเลยที่จะเป็นผู้นำประเทศไม่ว่าจะประเทศไหนก็ตามในสถานการณ์แบบนี้ แต่แม้ว่าคนไทยจะรู้สึกหงุดหงิดกับการปฏิบัติงานที่ล่าช้าของรัฐบาลประยุทธ์แค่ไหน ต้องอย่าลืมว่ารัฐบาลประเทศอื่นๆ ก็กำลังตกอยู่ในสถานะเดียวกันมาตรการปิดเมืองกรุงเทพและหลายจังหวัด ในการวางแผนใช้มาตรการฉุกเฉินของรัฐบาลไทยนั้นเป็นสิ่งดีและจำเป็น แต่กระแสรักชาติและการเชื่อฟังรัฐบาลอย่างเดียว ไม่ได้เป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอไป แม้ว่าอาจจะฟังไม่เข้าหูกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลมากนัก แต่การวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลนั้นไม่หยุดและไม่ควรหยุดแม้ประเทศจะอยู่ในวิกฤต
การรับมือเพื่อเอาชนะกับการระบาดของโรคโควิด19 ได้เห็นอะไรเกิดขึ้นในรัฐบาลยุคปัจจุบัน
1. เราได้เห็นระบบสาธารณสุขไทยยังไม่มีความพร้อมทั้งการตั้งรับและทำงานเชิงรุกเพื่อการควบคุมการระบาดของโรคติดต่อ
2. เราได้เห็นประชาชนมีความสามารถในการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนบทบาทจากเริ่มแรกตื่นกลัวกลายเป็นการตื่นรู้ และมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการต่างๆ ของตัวเองและของชุมชนในการใช้ยาสมุนไพร
3. การสื่อสารจากคณะรัฐบาลนั้นไร้ประสิทธิภาพและสร้างความสับสนให้แก่ประชาชนอยู่ไม่น้อย ฉะนั้นการผลักดันให้มีการสื่อสารที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นจะทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจ และรู้ว่าว่าตนต้องทำอะไรในสถานการณ์เยี่ยงนี้ และกว่าที่รัฐบาลจะตัดสินใจใช้มาตรการฉุกเฉินต่างๆ ที่มีอยู่ในตอนนี้ ประชาชนก็มีส่วนไม่น้อยที่ทำให้มาตรการเหล่านี้เกิดขึ้น
4. การกระจายอำนาจไปให้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้บริหารมาตรการต่างๆ นำไปสู่การปฏิบัติที่เพื่อสอดคล้องกับสภาพของพื้นที่ รวมทั้งสามารถระดมความร่วมมือจากประชาชนได้ล้าช้าเกินไป
5. สังคมได้รู้ว่าความเสี่ยงมีอยู่ทุกเวลา ทุกสถานที่ และเกิดขึ้นได้กับทุกคน คนรวย คนจน มีโอกาสได้รับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นหลากหลาย รุนแรงและไม่ปลอดภัยต่อชีวิต
6. ปัญหาเรื่องสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ทุกอย่างเกี่ยวข้องกันทั้งหมด เมื่อเกิดปัญหาโรคระบาดขึ้นจึงกระทบทุกระบบของประเทศ
7. การแก้ปัญหารวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทั้งหมดได้ ต้องมีการกระจายอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้ประชาชนในพื้นที่ จึงจะสามารถรับมือกับวิกฤตได้อย่างทันท่วงที
8. สังคมได้เรียนรู้ว่าวิกฤตที่เกิดขึ้น มีพื้นฐานจากประเทศมีปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้และมีช่องว่างทางความคิด เห็นได้จากคนรวยและคนชั้นกลางในเมืองต้องการนโยบาย Lockdown ที่คุมเข้ม ปิดกิจกรรม ห้ามออกนอกบ้านเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค เพราะมีกำลังทางเสรษฐกิจจึงต้องการความปลอดภัย ขณะที่คนยากจนอีกกลุ่มใหญ่เลือกที่จะต้องทำมาหากินไว้ก่อน ไม่เช่นนั้นอาจจะอดตายได้ ช่องว่างระหว่างคนสองกลุ่มนี้ชัดเจนและประเทศต้องมีทางออกให้คนทุกกลุ่มอยู่ร่วมกันได้ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่จะนำไปสู่การเผชิญหน้า
การระบาดของโรคโควิด19 และขยายเป็นวิกฤตใหญ่ของประเทศ ทำให้ได้เห็นสิ่งดีๆ เชิงระบบที่มีอยู่ในสังคมไทย และคนในสังคมได้เรียนรู้ปัญหามากมาย แม้คนส่วนหนึ่งจะเห็นปัญหาแต่ยังรับกับสภาพปัจจุบันได้เพราะอาจหาทางออกที่ดีให้กับประเทศไม่ได้ แต่เชื่อว่าวิกฤตนี้ได้ปลุกให้ประชาชนกลุ่มใหญ่และคนรุ่นใหม่ที่เป็นอนาคตของประเทศจะไม่ยอมทน เพราะพวกเขาได้เรียนรู้และพร้อมมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา ร่วมกำหนดอนาคตของประเทศ ดังนั้นแนวโน้มสังคมไทยหลังวิกฤตโควิด19 น่าจะมีการพัฒนาหรือปฎิรูประบบต่างๆ ของประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพราะประชาชนไทยต่างได้รับผลกระทบและเรียนรู้ระหว่างการรับมือกับวิกฤตินี้ร่วมกันอย่างถ้วนหน้า
ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ที่ควรเร่งดำเนินการหลังจากนี้ ก็คือ
1. การเยียวยาให้กับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วที่สุด ชดเชย ดูแลเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครที่เสียชีวิต หรือได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่อย่างดีที่สุด เร็วที่สุด
2. ตรวจสุขภาพให้กับ จนท.ผู้ปฏิบัติงาน อาสาสมัคร และประชาชน ต่อเนื่องทุกๆเดือน
3. ทบทวนและจัดสรรงบประมาณสำหรับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้สอดรับ กับขนาดของชุมชนเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งวางระบบในการสื่อสาร ให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้
4. หากรัฐบาลมีการกระจายอำนาจ ไปสู่ท้องถิ่น ที่มีที่มาจากประชาชน การจัดการสถานการณ์ ก็จะมีความห่วงใยในชีวิตของประชาชนมากกว่านี้ เรื่องนี้จึงเป็นบทเรียน ที่รัฐบาลต้องเร่งนำไปปรับปรุง ให้คำสั่งใดๆ เอาชีวิตของประชาชนเป็นสำคัญที่สุด และควรกระจายอำนาจ ไปสู่ท้องถิ่นได้แล้ว ระบบรัฐราชการรวมศูนย์ ไม่อาจเข้าถึงการดูแลชีวิตพี่น้องประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพได้