นางชลดา สืบมี (งานที่ 2)

นางชลดา  สืบมี ปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)

ชั้นปีที่ 1  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

จอห์น ล็อก มองการประชุมประท้วงของกลุ่มนักศึกษา ในการยกเลิก มาตรา 112 อย่างไร

ตอบ  แนวคิดเรื่องเสรีภาพของจอห์น ล็อค

สภาวะธรรมชาติ แนวคิดเรื่องเสรีภาพของล็อคนั้น เราสามารถค้นพบความคิดของเขาในหนังสือปรัชญาการเมืองว่าด้วยกำเนิด รัฐ จุดมุ่งหมายของรัฐ และ อำนาจรัฐ เป็นการแสดงให้เห็นถึงรากฐานของการก่อกำเนิดรัฐขึ้นมาจากคน ๆ หนึ่งไปสู่ กลุ่มคน จากกลุ่มคนไปสู่เมือง จากเมืองไปสู่รัฐ การแสดงให้เห็นถึงสิทธิและเสรีภาพที่มนุษย์ควรได้รับจากรัฐและการ คุ้มครองสิทธิส่วนตัวจากรัฐที่ตนสังกัด อีกทั้งได้บ่งบอกถึงจุดมุ่งหมายของการตั้งรัฐและขอบเขตในการใช้อำนาจของรัฐ ในการพิทักษ์สิทธิส่วนบุคคลของผู้ที่อยู่ในรัฐ ล็อคได้กล่าวว่าก่อนที่เราจะทำความเข้าใจในเรื่องการกำเนิดของรัฐจำเป็นที่ต้องเข้าใจสภาพดั้งเดิมที่มนุษย์ ดำรงชีวิตอยู่ก่อนที่จะมีอำนาจรัฐหรือรัฐเกิดขึ้น และเข้าใจถึงเหตุผลที่มนุษย์จึงละสภาพเช่นที่ว่านี้ซึ่งเรียกว่า “สภาวะ ธรรมชาติ” สภาวะธรรมชาตินั้นลักษณะเฉพาะอยู่สองประการ คือ เป็นสภาวะที่มนุษย์มีเสรีภาพอย่างสมบูรณ์และมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน มนุษย์มีเสรีภาพที่จะกระทำตามความปรารถนาของตนกับตัวเขาเอง กับสิ่งที่เป็นของเขา และของบุคคลอื่น โดย “ไม่ขึ้นกับเจตจำนงของผู้หนึ่งผู้ใด” เขามีสิทธิที่จะไม่ทำตามความประสงค์ของคนอื่น นี้คือ ความหมายของเสรีภาพ ส่วนความเสมอภาคที่มนุษย์มีเท่าเทียมกันเป็นความเสมอภาคเกี่ยวกับ “อำนาจและการ ตัดสินที่ทุกคนมีต่อกัน ไม่มีใครมีมากกว่าใคร” ดังนั้น ในสภาวะธรรมชาติที่บริสุทธิ์มนุษย์ทุกคนจึงมีอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ความเป็นอิสระจากกันของมนุษย์ทุกคนนี้สืบเนื่องมาจากความเชื่อของล็อคที่ว่าเราทุกคนเป็นผลงานของพระ เจ้าองค์เดียวกัน เราเป็นผู้รับใช้ของพระองค์ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นและส่งมายังโลก เราเป็นแม้กระทั่ง “สมบัติของ พระองค์” เมื่อพระองค์ทรงสร้างให้เรามีคุณสมบัติอย่างเดียวกัน มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหมือนกัน เราจึงเท่าเทียม กันและไม่ขึ้นต่อกัน เราทุกคนขึ้นอยู่กับพระเจ้า ขึ้นกับน้ำพระทัยความพอใจของพระองค์เหมือนกันหมด คือทุกคนไม่ เป็นอิสระจากพระเจ้าเหมือนกัน ความคิดนี้เป็นสิ่งที่ล็อคและคนทั่วไปในสังคมของเขาได้ยอมรับกันทั่วไปเหมือนกัน หมดในจิตสำนึก และจากความคิดนี้เอง ทำให้ล็อค สรุปได้ว่าไม่มีใครอยู่ใต้อำนาจหรือใต้การปกครองของใคร พระเจ้า ซึ่งเป็นนายของเราทุกคนไม่เคยมีพระประสงค์ที่จะให้มนุษย์คนใดหรือกลุ่มใดได้รับสิทธิจากพระองค์มีอำนาจมากกว่า ผู้อื่น แต่ในสภาวะธรรมชาติที่ทุกคนมีเสรีภาพและไม่ขึ้นแก่กันเท่าเทียมกันนี้ แม้ไม่มีรัฐบาลก็ตาม ล็อคก็เชื่อว่ามัน เป็นสภาพที่ไม่มีการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นหรือทำร้ายทำอันตรายแก่ผู้อื่น เพราะว่า “สภาวะธรรมชาติมีกฎของธรรม ขาติซึ่งใช้บังคับกับคนทุกคน และเหตุผลซึ่งคือกฎนั้นสอนว่า ทุกคนไม่ควรทำอันตรายแก่ผู้อื่นในด้านชีวิต ร่างกาย หรือ ทรัพย์สมบัติ” สิ่งเดียวที่ควบคุมความปรารถนาของมนุษย์ให้อยู่ภายใต้ขอบเขตคือเหตุผลของตัวเขาเอง เราทุกคนเกิด มามีเสรีภาพเท่า ๆ กับที่เราเกิดมาเป็นผู้ที่มีเหตุผล เหตุผล คือ “เสียงของพระเจ้าในตัวเรา” พระเจ้าให้สิ่งนี้มากับ มนุษย์ทุกคนเพื่อใช้เป็น “กฎระหว่างมนุษย์ด้วยกัน” เหตุผลจึงเป็นสิ่งที่บอกให้เรารู้สิทธิพื้นฐานตามธรรมชาติคือกฎ ของเหตุผล เสรีภาพของมนุษย์ทุกคนในสภาวะธรรมชาติต้องอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติดังนั้น สภาวะธรรมชาติจึงเป็นสา วะที่มนุษย์ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติไม่ใช่ “ภาวะสงคราม” อย่างที่มีบางคนสับสน คำว่าบางคนในที่นี้ ล็อคคง เจตนาที่จะหมายถึงฮอบส์ผู้ที่มีความเชื่อว่าสภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะสงครามที่มนุษย์ใช้กำลังทำลายล้างแย่งชิงกัน สำหรับล็อคแล้ว สภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะที่มีสันติภาพ ความปรารถนาดี การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการธำรงรักษาชีวิตและทรัพย์สิน กฎธรรมชาติที่เรารู้ได้ด้วยเหตุผลบอกว่าอะไรถูกอะไรผิด ถ้ามีการฝ่าฝืนกฎ ในสภาวะธรรมชาติจะมีการ ลงโทษผู้ละเมิดด้วย เพราะเขาไม่ยอมรับกฎของเหตุผลซึ่งเป็นมาตรฐานของพระเจ้าที่ทรงกำหนดขึ้นไว้เพื่อความ ปลอดภัยของมนุษย์ แต่อำนาจในการลงโทษอยู่ในมือเราทุกคน ทุกคนมีสิทธิลงโทษผู้กระทำความผิดกฎธรรมชาติ เท่าที่จะทำให้เขาเกิดความหลาบจำไม่ทำการละเมิดอีก และเท่าที่จะไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่คนอื่นอีกต่อไป สำหรับล็อคเขาได้แบ่งกฎสภาวะธรรมชาติออกมาเป็น ๓ กฎ คือ กฎของพระเจ้าหรือกฎเทวะ กฎหมายและ จารีตประเพณีสังคม กฎแรกเป็นกฎที่ใช้ตัดสินการกระทำว่าเป็นบาปหรือเป็นการเคารพเชื่อฟังที่เป็นหน้าที่ของมนุษย์ จึงอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กฎศีลธรรม” ล็อคเชื่อว่ากฎศีลธรรมเป็นสิ่งที่พระเจ้ากำหนดมาให้แก่มนุษย์ กฎนี้เป็นกฎ สูงสุดกฎเดียวที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และกฎอื่นอีกสองกฎต้องสอดคล้องกับกฎนี้ ดังนั้น กฎศีลธรรมจึงเป็นกฎศักดิ์ สิทธิที่พิทักษ์เสรีของมนุษย์อย่างแท้จริง การยอมรับการปกครองจากรัฐ ล็อคกล่าวว่าเหตุที่มนุษย์ได้ยอมให้มีรัฐหรือมีใครมาปกครองตน มีเหตุเพราะว่าสภาวะธรรมชาติที่เป็นกฎ ดังเดิมองมนุษย์นั้นมีข้อบกพร่องที่เห็นได้ชัดอยู่ ๓ ประการ คือ

๑. กฎธรรมชาติไม่ได้ถูกเขียนไว้ ณ ที่ใดนอกจากในใจ ของมนุษย์ ถ้าหากมนุษย์ทุกคนยอมให้เหตุผลเป็นเครื่องนำทาง เราจะมองเห็นและปฏิบัติตามกฎธรรมชาติอันเดียวกัน แต่เป็นเพราะว่ามนุษย์ไม่ได้มีเหตุผลตลอดเวลา ความโลภและความมักได้ของเขาอาจชักนำให้เขากระทำสิ่งที่ตรงข้าม กับเหตุผล เมื่อใดที่เขามีความพยายามกระทำในสิ่งที่จะได้มาซึ่งทรัพย์สินของคนอื่น มันย่อมก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัย

๒. ในสภาวะธรรมชาติ คนแต่ละคนจะเป็นผู้พิพากษาและมีสิทธิลงโทษผู้ละเมิดกฎธรรมชาติ แต่การที่ปล่อย ให้มนุษย์ตัดสินกรณีที่เขาทำผิดเอง เราไม่อาจไว้ใจการตัดสินของเขาได้ เพราะมันเป็นการยากที่เขาจะไม่เกิดอคติและ ไม่เอาตัวเขาเองเข้าไปเกี่ยวข้อง เราจึงอาจตัดสินรุนแรงเกินไปโดยใช้อารมณ์ และการแก้แค้นในกรณีที่เขาเองเป็น ผู้เสียหาย แต่ในทางตรงกันข้าม เขาอาจละเลยไม่สนใจในกรณีขัดแย้งของผู้อื่นเขาไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ฉะนั้น ใน สภาวะธรรมชาติจึงขาด “ผู้พิพากษาที่รู้จักความเป็นกลาง”

๓. แม้ว่าในสภาวะธรรมชาติอาจมีผู้พิพากษาที่เที่ยงธรรม เป็นกลางและมีการวินิจฉัยที่ถูกต้อง แต่ก็มีบ่อยครั้งที่มันยังขาด “อำนาจที่จะค้ำประกันและสนับสนุนคำพิพากษาที่ ถูกต้องและที่จะจัดให้เป็นไปตามนั้น” ฝ่ายที่เสียหายอาจไม่มีกำลังเพียงพอที่จะบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือไม่ มีอำนาจบริหารที่จะจัดการให้เป็นไปตามกฎหมาย ด้วยเหตุที่สภาวะธรรมชาติความบกพร่องดังที่กล่าวมานี้ เพื่อตอบสนองการต้องการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมี ความสุข รัฐบาลจึงเกิดขึ้นโดยคนในสังคมได้ยินยอมให้มีคณะกลุ่มคนที่มีความเที่ยงธรรมและความสามารถในการ ปกครองกลุ่มชนให้มีความสุข หรือกล่าวได้ว่าสังคมการเมืองเกิดขึ้นจากการยินยอมเท่านั้น ความยินยอมนี้เกิดขึ้นเมื่อ เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่รู้จักใช้เหตุผลที่จะเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามใจของเขาได้ หากเขาเลือกที่จะไม่ออกจากสังคมที่เขาถือ กำเนิดมา ก็ถือว่าเขายินยอมให้รัฐมีอำนาจปกครองเหนือสิทธิเสรีภาพของเขาเอง การยินยอมนี้เป็นการยินยอมที่จะอยู่ ภายใต้เจตจำนงและการตัดสินชี้ขาดของเสียงข้างมาก เพราะสังคมการเมืองจะกระทำอะไรหรือมีอยู่ต่อไปไม่ได้ ถ้าจะ ให้ข้อเสนอทุกอย่างได้รับความยินยอมจากคนทุกคนในสังคม ในสภาวะใหม่ซึ่งเป็นสภาวะที่ใช้อำนาจทางการเมืองนี้ ล็อคได้นิยามอำนาจทางการเมืองว่า คือ “สิทธิ ที่จะ สร้างกฎหมายที่มีบทประมวลลงโทษถึงตาย รวมทั้งบทลงโทษอื่นที่เบากว่าทั้งหมดและใช้อำนาจของชุมชนที่จะปฏิบัติ ตามกฎหมายดังกล่าว และป้องกันชุมชนจากการรุกรานภายนอก” เราอาจกล่าวได้ว่าเมื่อว่ากันโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์มีสิทธิเสรีภาพที่จะกระทำอะไรก็ได้ตามใจตน แต่เมื่อเขาคิดเข้าอยู่กับผู้อื่นในสังคมก็ต้องยอมรับสิทธิเสรีภาพของ คนอื่น ๆ ในสังคม และเขายังต้องได้รับโทษจากการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของคนอื่น ไม่ว่าเขาจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงจากการลงโทษรัฐที่มอบอำนาจให้คณะบุคคลใดบุคคลหนึ่งทำ หน้าที่พิพากษาโทษและลงโทษผู้ที่กระทำความผิด

 จุดมุ่งหมายการใช้อำนาจของรัฐ ล็อคได้กล่าวว่าอำนาจของรัฐนั้นเกิดจากการที่ทุกคนในสังคมยินยอมให้รัฐกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อ การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของทุกคนในสังคม ดังนั้น รัฐจึงจะต้องใช้อำนาจเพื่อป้องกันชีวิต เสรีภาพ และ  ทรัพย์สินของประชาชนในรัฐ การกระทำใดในการใช้อำนาจจึงจะต้องประกอบด้วยหลัก ๔ ประการ ดังนี้

๑. กฎหมาย ต้องใช้กับทุกคนทัดเทียมกัน ไม่ว่าคนร่ำรวยหรือคนจน

๒. กฎหมายต้องไม่ใช้ตามอำเภอใจและเพื่อการกดขี่ แต่ต้องใช้ เพื่อประโยชน์ของประชาชน

๓. องค์กรนิติบัญญัติต้องไม่ขึ้นภาษีโดยปราศจากการยินยอมจากประชาชน

๔. องค์กรนิติ บัญญัติไม่อาจมอบอำนาจในการจัดทำกฎหมายแก่บุคคลใดโดยเฉพาะ หลัก ๔ ประการนี้จะเป็นหลักประกันว่ารัฐจะไม่สามารถคุกคามสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยไม่ เป็นธรรม ประชาชนมีสิทธิที่กระทำสิ่งใดก็ตามด้วยความเป็นอิสรเสรี หากการกระทำของเขาไม่ผิดกฎหมายของรัฐที่ เป็นธรรม เพราะว่าการมีขึ้นของกฎหมายก็เพื่อปกป้องสิทธิตามสภาวะธรรมชาติที่มีอยู่กับมนุษย์ตั้งแต่เดิม ก็เพราะว่า “วัตถุประสงค์ของกฎหมายไม่ใช่เพื่อยกเลิกหรือจำกัด แต่เพื่อรักษาและขยายเสรีภาพ ที่ใดไม่มีกฎหมาย ที่นั่นไม่มี เสรีภาพ เพราะเสรีภาพของเขาก็ต้องเป็นสิทธิที่จะจัดการและจัดระเบียบด้วยตัวของเขาเอง การกระทำอันเป็นตาม อิสระของเขา ก็ล้วนเป็นสิ่งที่กฎหมายไม่อาจขัดขวางได้ หากกระทำของเขาไม่ได้ล่วงสิทธิเสรีภาพของผู้ใด และการที่ กฎหมายจะกระทำการใช้อำนาจใด ๆ ต่อเขา ก็เพราะว่าเขายินยอมให้กระทำเช่นนั้น เพราะมันจะต้องเป็นไปตาม เจตจำนงเสรีของเขา” นี้หมายความว่า สิทธิตามธรรมชาติยังคงอยู่กับมนุษย์ทุกคน แม้ว่าเขาจะมารวมกันเป็นสังคมที่มี กฎหมายควบคุมอยู่ก็ตาม เขาก็ยังมีเสรีภาพอยู่ เพราะเสรีภาพไม่ใช่การกระทำสิ่งใดตามใจชอบ แต่เป็นการท าตามสิ่ง ที่เป็นไปตามเจตจำนงประสงค์ของตนเองภายในขอบเขตที่กฎหมายอนุญาต รัฐมีจุดหมายที่จะควบคุมสิทธิเหล่านี้ให้ น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นที่จะทำให้การปกป้องสิทธิดังกล่าวให้เป็นไปอย่างได้ผล กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิทธิธรรมชาติของคน ๆ หนึ่งถูกจำกัดเพื่อให้สิทธิอย่างเดียวกันของผู้อื่นนั้นได้มีผลเป็นไปได้ทัดเทียมกัน กฎหมายจึงไม่ใช่สิ่งที่ทำลายหรือ ขัดขวางเสรีภาพ แต่มันสนับสนุนส่งเสริมเสรีภาพ การที่คนแต่ละคนยินยอมอยู่ในสังคมการเมืองและยอมรับกฎหมาย ของสังคมนั้นเป็นไปด้วยความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของเขาเอง เขาไม่ได้อยู่ใต้อำนาจของผู้อื่น ตัวเขาเอง มีอิสรภาพในตัวเองอย่างเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ สรุปว่าแนวคิดเรื่องเสรีภาพของจอห์น ล็อค ได้ดังนี้ มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาล้วนมีสิทธิเสรีภาพที่จะกระทำกรรม ใด ๆ ก็ตามดังที่ใจปรารถนา โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับจิตจำนงของใคร หรือต้องมีใครมาบังคับให้กระทำหรือห้ามการ กระทำ และเมื่อมนุษย์มีความจำเป็นที่จะต้องมาอยู่ร่วมกัน จึงต้องมีกฎหมายและรัฐขึ้นมาเพื่อที่คนแต่ละคนในสังคม จะได้มีความสุขในการอยู่ร่วมกันและเหตุที่ต้องมีกฎหมายก็เพราะว่าสภาวะธรรมชาติของมนุษย์นั้นมีความบกพร่องมา แต่เดิมอยู่ ๓ ประการ คือ

๑. ขาดกฎหมายที่เป็นที่ตกลงและยอมรับที่จะใช้ตัดสินข้อพิพาททั้งปวง

 ๒. ขาดผู้พิพากษาที่ ทุกคนยอมรับและมีความเป็นกลาง

๓. ขาดอำนาจที่ค้ำประกันและสนับสนุนคำพิพากษาที่ถูกต้องและที่จะจัดให้เป็นไป ตามนั้น

กฎหมายที่รัฐอันเป็นคณะบุคคลที่ทุกคนในสังคมให้ทำหน้าที่บริหารกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความสุขแก่ทุก คนในสังคมนั้นจะต้องเป็นกฎหมายที่ประกอบด้วยลักษณะ ๔ ประการ คือ

๑. กฎหมายต้องใช้กับคนทุกคนเท่าเทียม กัน ไม่ว่าคนร่ำรวยหรือคนจน

๒. กฎหมายต้องไม่ใช้ตามอำเภอใจและเพื่อการกดขี่ แต่ต้องใช้เพื่อประโยชน์ของ ประชาชน

๓. องค์กรนิติบัญญัติต้องไม่ขึ้นภาษีโดยปราศจากความยินยอมของประชาชน

๔. องค์กรนิติบัญญัติ ไม่อาจมอบอำนาจในการจัดทำกฎหมายให้แก่ผู้ใดโดยเฉพาะ  ดังนั้น แนวคิดเรื่องเสรีภาพในทัศนะของจอห์น ล็อค ซึ่งเป็นนักปรัชญาคนแรกของตะวันตกที่กล่าวถึงความ เสมอภาพของปัจเจกชน ในขณะที่สังคมที่เขาอยู่นั้นเป็นสังคมที่มอบอำนาจความเป็นใหญ่ในการบริหารประเทศและ ครอบครองทรัพย์สินของประเทศให้แก่พระราชาและบรรดาพวกขุนนางศักดินา โดยคนเหล่านี้มีสิทธิโดยชอบธรรมตาม กฎหมายที่พวกตนบัญญัติขึ้นมา ซึ่งไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงสิทธิของประชาชนที่จะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายในการ ป้องกันชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สินที่ตนมีอยู่ ล็อคจึงกล่าวถึงสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ที่ทุกคนมีอยู่ตามกำเนิด และการมีอยู่ของรัฐนั้นก็เกิดจากการที่ทุกคนในสังคมได้ยินยอมให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจัดทำกฎหมายและใช้กฎหมาย เพื่อปกป้องสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน ไม่ใช่เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง มนุษย์ทุก คนจึงมีเสรีภาพในการกระทำของตน ไม่ว่าจะเป็นการพูดและการกระทำในทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนปรารถนา โดยไม่ได้รับ การขัดขวางจากบุคคลอื่น เว้นแต่การกระทำของเขานั้นได้ล่วงละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการมีชีวิตอยู่ของคนอื่น รัฐจึง จะมีอำนาจลงโทษตั้งแต่ขั้นสูงสุดถึงเบาโดยความยุติธรรม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *